สายลมหนาว : The Green Mile ปาฏิหาริย์แดนประหาร - สายลมหนาว : The Green Mile ปาฏิหาริย์แดนประหาร นิยาย สายลมหนาว : The Green Mile ปาฏิหาริย์แดนประหาร : Dek-D.com - Writer

    สายลมหนาว : The Green Mile ปาฏิหาริย์แดนประหาร

    ความเรียงจากการดูภาพยนตร์เรื่อง The Green Mile ปาฏิหาริย์แดนประหาร

    ผู้เข้าชมรวม

    1,187

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    16

    ผู้เข้าชมรวม


    1.18K

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 พ.ย. 57 / 00:57 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ภาพยนตร์เรื่อง The Green Mile ปาฏิหาริย์แดนประหาร เป็นเรื่องราวของผู้คุมนักโทษแดนประหารที่ชื่อ พอล ได้พบกับนักโทษประหารชายผิวสีคนหนึ่งรูปร่างใหญ่เขาชื่อ จอร์น คอฟฟี่ เขาถูกพิพากษาประหารชีวิตในข้อหาฆ่าเด็กหญิงสองคนพี่น้อง ในระหว่างรอวันประหาร จอร์นได้สร้างปาฏิหาริย์หลายๆอย่างให้กับพอลและผู้คุมอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      สายลมหนาว : The Green Mile ปาฏิหาริย์แดนประหาร

      คนกล้าฝัน : เขียน
       

      ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยตามกระแสโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอันทันสมัย เป็นวิถีตามธรรมชาติของสรรพสิ่งบนโลกบนนี้ สายลมหนาวแห่งฤดูของการเก็บเกี่ยวพัดโชยมาเป็นจังหวะปะทะต้นข้าวสีทองให้ไหวโอนเอนตามแรงลม ทำเอาหลายๆ คนต้องหาเสื้อกันหนาวมาใส่กันแทบไม่ทัน เพราะหลายวันที่ผ่านมาอากาศร้อนมากจนคิดไม่ออกเลยว่าปีนี้จะมีฤดูหนาวหรือเปล่า? แต่ตอนนี้หลังจากผ่านพ้นปีใหม่มาแล้ว ลมหนาวยิ่งโหมกระหน่ำมากขึ้นอาจจะเป็นผลดีสำหรับใครหลายคนที่จะฉวยโอกาสนี้ช่วยชาติประหยัดน้ำก็เป็นไปได้

      อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าสายลมแห่งฤดูเหมันต์จะพัดมาแรงขนาดไหนมันก็เป็นผลดีกับสัตว์อีกหลายชนิด แต่มันชั่งผกผันกันในวันอาทิตย์ ที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ช่วงเวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา วันนั้นถ้าใครอาบน้ำมาตั้งแต่ตอนเช้าอาจจะต้องกลับไปอาบน้ำใหม่อีกรอบเป็นแน่ ชั่วโมงนี้เป็นของวิชา การคิดเชิงวิจารณ์ เป็นชั่วโมงที่ข้าพเจ้ากับเพื่อนๆ เตรียมงานมานำเสนอ แต่แล้วเหมือนฟ้าแกล้งกลุ่มของข้าพเจ้าเพราะงานที่เตรียมมากลับไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรนัก จึงต้องแก้งานกันจ้าระวัน แต่ก็เหมือนฟ้ามีตาหรือสวรรค์เป็นใจหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ดลใจให้ อ.ผศ.ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ให้นิสิตชมภาพยนตร์แทน ข้าพเจ้าจำได้ดีเลยทีเดียว เป็นภาพยนตร์ที่ทำให้ทุกคนในห้องประทับใจที่สุด ชื่อเรื่อง The Green Mile ปาฏิหาริย์แดนประหาร เป็นเรื่องราวของผู้คุมนักโทษแดนประหารที่ชื่อ พอล ได้พบกับนักโทษประหารชายผิวสีคนหนึ่งรูปร่างใหญ่เขาชื่อ จอร์น คอฟฟี่ เขาถูกพิพากษาประหารชีวิตในข้อหาฆ่าเด็กหญิงสองคนพี่น้อง ในระหว่างรอวันประหาร จอร์นได้สร้างปาฏิหาริย์หลายๆอย่างให้กับพอลและผู้คุมอย่างน่าอัศจรรย์ใจ ตั้งแต่เขาช่วยพอลหายจากโรคปัสสาวะอักเสบ ชุบชีวิตเจ้าหนูแสนรู้ที่ชื่อจิงเกอร์ของเบลนักโทษประหารชายผู้กลับใจเป็นคนดีหลังจากที่โดนเพอร์ซี่ผู้คุมนักโทษผู้หยิ่งทะนงตัวเหยียบจนตาย และยิ่งไปกว่านั้นพอลและผู้คุมอีกสองคนได้พาจอร์น คอฟฟี่ ออกจากที่คุมขังไปรักษาภรรยาของท่านหัวหน้าผู้คุมนักโทษให้หายจากโรคเนื้องอกในสมอง แต่อย่างไรก็ตามความดีที่เขาได้ทำในช่วงระยะเวลาอันสั้นก็ไม่สามารถลบความผิดที่เขาได้ก่อไว้เลย ในที่สุดแล้วจอร์น คอฟฟี่ ก็ถูกประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้า โดยที่พอลก็ไม่สามารถจะช่วยเขาได้เลยถึงแม้จะรู้ว่าจอร์น คอฟฟี่ ที่จริงแล้วเขาเป็นคนช่วยเด็กหญิงสองคนนั้นแต่ด้วยหลักฐานที่ปรากฏในที่เกิดเหตุก็มัดตัวเขาจนดิ้นไม่หลุด

      สิ่งที่ได้รับจากภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เรารู้วิวัฒนาการของการใช้เครื่องประหารนักโทษเป็น”เก้าอี้ไฟฟ้า” ที่ใช้แทนการแขวงคอ มีใช้เฉพาะในสหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์ในช่วงที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาเหตุที่เปลี่ยนจากการแขวนคอมาเป็นการใช้เก้าอี้ไฟฟ้าแทนเพราะต้องการให้นักโทษได้รับความทรมานน้อยที่สุด

      โดยอัลเฟรด พี เซาท์วิค(Alfred P. Southwick)เสนอให้ใช้ไฟฟ้าช็อตเนื่องด้วยกรณีของคนขี้เมาที่ถูกไฟฟ้าซ็อตตายอย่างรวดเร็ว และความที่เขาเป็นหมอฟันจึงรู้จักอุปกรณ์ที่ใช้บนเก้าอี้ดี จึงเสนอให้ใช้นักโทษนั่งเก้าอี้ก่อนจะซ็อตด้วยไฟฟ้า มีการเริ่มใช้ในปีพ.ศ.๒๔๒๔ และเลิกใช้เมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ สำหรับนักโทษคนแรกที่ได้ใช้เครื่องประหารนี้ก็คือ นายวิลเลี่ยม เคมเลอร์(William Kemmler) เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๓ ถึงแม้ว่าจะมีการยกเลิกการประหารด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าไปแล้ว แต่ผู้ที่เลือกการประหารด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าก่อนพ.ศ.๒๕๓๑ ก็ยังได้สิทธิใช้เก้าอี้ไฟฟ้าได้และนักโทษรายล่าสุดที่ถูกประหารคือ พอลล์ วอร์เนอร์ โพเวล(Paul warner powell) เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓

      สำหรับวิธีการประหารด้วยการใช้เก้าอี้ไฟฟ้า โดยก่อนอื่นจับนักโทษมานั่งเก้าอี้ไฟฟ้าแล้วติดอุปกรณ์นำไฟฟ้า ที่เราได้ชมในภาพยนตร์จะมีการนำฟองน้ำที่จุ่มน้ำมาวางบนศีรษะของนักโทษก่อนเพราะน้ำจะเป็นตัวนำให้ไฟฟ้าเข้าสู่สมองทันที แล้วจากนั้นจึง

      ปล่อยกระแสไฟฟ้ามาช็อตนักโทษ โดยการช็อตครั้งแรกจะทำให้หมดสติและทำให้สมองตาย ส่วนการช็อตครั้งถัดไปจะช็อตให้อวัยวะภายในที่สำคัญๆเสียหาย ซึ่งการตายส่วนใหญ่เกิดจากการที่หัวใจถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้ามากเกินไป โดยเก้าอี้ไฟฟ้าตัวแรกของโลกประดิษฐ์โดย แฮรี่ พี บราวน์(Harold P. Brown) และอาร์เทอร์ เคนเนลลี่(Arthur Kennelly) แต่ชื่อของผู้ประดิษฐ์กลับเป็นเอดิสัน เพราะเขาทั้งคู่ทำงานให้กับเอดิสันนั่นเอง โดยเก้าอี้ไฟฟ้านี้ใช้ระบบกระแสไฟฟ้าสลับ หลังจากนั้นก็มีการเป็นมาใช้วิธีการฉีดยาแทน

      อีกทั้งภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของคนไม่ว่าจะเป็นใคร สถานะใดหรือเคยทำผิด แต่ถ้ารู้จักเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนมีคุณค่าถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงระยะอันสั้นก็ตาม หากได้เริ่มต้นแล้วอย่างน้อยความดีที่ได้กระทำก็มีผู้คนสรรเสริญ มีน้ำตาที่ไหลหลั่งภายหลังเมื่อจากไป อีกทั้งยังแฝงแง่คิดเกี่ยวกับการคิดให้กับผู้ชมได้ตระหนักถึงการที่เราจะเชื่อสิ่งใดใดก็ตามหรือตัดสินในสิ่งที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า ให้เราคิดไตร่ตรอง วิเคราะห์ว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นอย่างที่ปรากฏหรือไม่ อย่าเพิ่งด่วนสรุป จนกว่าเราจะได้พิสูจน์ แต่จะว่าได้อย่างไร ในเมื่อสถานการณ์มันบีบบังคับให้เราเชื่อในสิ่งที่เห็น ซึ่งสิ่งสำคัญอีกอย่างที่เราควรมีคือ สติ สติเท่านั้นที่จะทำให้เราเห็นความจริง จงมีสติอยู่เสมอไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท แต่หากพลั้งพลาดแล้วก็อย่าจมอยู่กับมันนาน ปล่อยให้มันไปจากเราบ้างก็ดีให้สายลมแห่งฤดูหนาวนี้พัดไปจากเราเสียเถิด

      หากคนเรายังเป็นเหมือนกระต่ายที่ตื่นตูมอยู่ ตัดสินเพียงภาพที่มองผ่านๆไม่ตั้งมั่นอยู่ในความมีสติอยู่เสมอ มัวแต่โทษเวลา โทษเวรกรรม เมื่อไหร่ชีวิตจะพบแสงสว่างในชีวิตสักที ถ้าไม่เริ่มที่จะคิดแล้วจะมีก้อนเนื้อนิ่มๆที่กำลังเต้นตุบๆอยู่ภายในกะโหลกที่หนาอันนี้ไว้เพื่อสิ่งใด หรือจะมีไว้แค่ให้ไฟฟ้าช็อตเล่นๆแล้วก็ตายอย่างนั้นหรอ หากจะคิดเพียงตื้นๆแค่ให้มีให้สมบูรณ์ว่าเป็นคนก็ไม่ต่างอะไรกับต้นข้าวสีทองที่ถูกสายลมหนาวพัดล้มจนหักงอรวงข้าวจมน้ำจมโคลนตมไม่นานก็เน่าเหม็นไร้ประโยชน์และยังเสียเวลาที่อุตส่าห์ดูแลจนถึงเก็บเกี่ยว สุดท้ายก็เป็นได้แค่ต้นข้าวเน่าๆส่งกลิ่นเหม็นทั่วท้องนา

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×